วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สมุนไพร


      
           
          พืชสมุนไีพร  เป็นพืชธรรมชาติ

และเป็นที่่มนุษย์รู้จักและนำมาใช้ประโยชน์ในการรักษาอาการเจ็บป่วยทั้งภายในและภายนอกร่างกายมาตั้งแต่สมัยโบราณ  การใช้งานดังกล่าวมีการศึกษาเรียนรู้  สั่งสมประสบการณ์  ตลอดจนถ่ายทอดมาสู่รุ่นลูกรุ่นหลานในปัจจุบัน  เกิดเป็นภูมิปัญญาอันมีคุณค่ายิ่ง

        หากมีการศึกษาถึงภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรกันอย่างแท้จริงแล้วก็จะพบว่ามีความน่าสนใจไม่น้อย  กล่าวคือ  กระบวนการได้มาซึ่งสมุนไพรเริ่มตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบ  การเก็บสมุนไพร  การนำสมุนไพรแต่ละชนิดมาผสมผสานให้เกิดคุณสมบัติในการบำบัดรักษา  ตลอดจนถึงการค้นหารูปแบบวิธีการเก็บรักษาตัวยาดังกล่าวให้มีอาุยุการใช้งานยาวนาน  อาทิ  การปั้นเป็นลูกกลอน  เป็นต้น  ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบให้ง่ายต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น  กล่าวคือ  การนำมาบรรจุในแคปซูลที่ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการบริโภค  สมุนไพรหลายชนิดยังคงมีการสืบทอดการใช้มาจนกระทั่งปัจจุบัน  ไม่ว่าจะเป็นกระเทียม  กระชาย  กระเพรา  ใช้เมื่อเกิดอาการจุกเสียด  ท้องอืด  ท้องเฟ้อ หรือหากเกิดอาการท้องเสียก็ใช้ฟ้าทะลายโจร  มังคุด  เป็นต้น

          อย่างไรก็ตาม  ความรู้ในการใช้สมุนไพรเริ่มเลือนหายไปจากสังคมไทย  สังเกตได้จากการรู้จักสมุนไพรที่ลดน้อยลง  ทั้งนี้เนื่องจากการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ที่ส่งผลต่อกระบวนการรักษาพยาบาล  การนำเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่มาใช้ตลอดจนการผลิตยาแผนปัจจุบันที่ให้ผลรวดเร็วในการบำบัดรักษา  ทำให้การใช้สมุนไพรกลายเป็นเรื่องยุ่งยาก  ที่สำคัญยังขาดการอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนจึงอาจกล่าวได้ว่า  การใช้สมุนไพรเป็นได้เพียงทางเลือกสุดท้ายสำหรับผู้ที่ได้รับ  การรักษาตามแบบแผนปัจจุบันแล้วไม่ได้ผลเ่ท่านั้น

         หากแต่ในความเป็นจริงแล้ว  ข้อดีประการหนึ่งในการใช้สมุนไพรคือ ก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่น้อยกว่ายาแผนปัจจุบัน  เพราะสมุนไพรนั้นจัดได้ว่าเป็นทั้งอาหารและยา  หากมีการทำความรู้จักถึงสรรพคุณหรือคุณสมบัติให้ชัดเจนและรับประทานอย่างสมดุลต่อความต้องการของร่างกายในขณะนั้นแล้ว  สมุนไพรก็นับว่าเป็นทางเลือกที่เหมาะสมทางหนึ่ง  แต่ปัญหาสำคัญที่พบในการใช้สมุนไพรในปัจจุบันนั้นคือ  การขาดการรวบรวมองค์ความรู้  ทำให้ภูมิปัญญาสมุนไพรหลายชนิดสูญหายไปอย่างน่าเสียดาย  อีกทั้งยังขาดการศึกษาต่อยอดองค์ความรู้ดังกล่าว  ทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป  โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่มองว่าสมุนไพรเป็นเรื่องของโบราณ  นอกจากนี้การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ยังมีน้อย  แต่ในวิกฤตของสถานการณ์สมุนไพรไทยในปัจจุบัน  ก็นับว่ายังมีโอกาสที่อาจทำให้สมุนไพรกลับฟื้นคืนชีพได้  เมื่อโลกต้องพบการระบาดของโรคร้ายซึ่งแพทย์สมัยใหม่ก็ไม่อาจยับยั้งได้แต่เมื่อมีการศึกษากลับพบว่าสมุนไพรหลายชนิดสามารถนำมาบำบัดอาการเจ็บป่วยนี้ได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านทางการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่คนในยุคปัจจุบันให้การยอมรับ  ดังนั้นผู้คนจำนวนมากจึงหันมาบำบัดรักษาด้วยสมุนไพรซึ่งเป็นการรักษาแบบฟื้นฟูช้า ๆ แต่หายขาดไม่เกิดอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาและยังมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการใช้ยาแผนปัจจุบัน

          ซึ่งเนื้อหาต่อไปจะเป็นการนำเสนอสมุนไพรต่าง ๆ ที่ใช้เพื่อการดูแลและรักษาสุขภาพเพื่อจะได้เป็นประโยชน์และเป็นทางเลือกให้กับผู้ที่สนใจ


                                                               รางจืด
                                                                

 ชาวนาชาวไร่ และชาวสวน ที่ต้องใช้สารเคมีต่างๆเพื่อทำลาย เพลี้ย แมลง และวัชพืชต่างๆอยู่เป็นประจำ หรือผู้ที่ต้องสัมผัสกับสารเคมีที่ใช้ฆ่าแมลงอยู่เป็นประจำ สารเคมีเหล่านี้จะเข้าไปสะสมในร่างกาย ทำให้เกิดอาการเจ็บไข้ ไม่สบายอยู่เป็นประจำ หากแต่ท่านเอาใบ หรือทั้งราก เถา ใบ ของต้นรางจืดมาล้างให้สะอาด ตำหรือปั่นให้ละเอียดผสมกับน้ำซาวข้าว ในกรณีไม่มีน้ำซาวข้าวให้เอาข้าวสารมาตำ หรือปั่นให้ละเอียดผสมลงไปก็ได้เช่นกัน  คั้นเอาน้ำดื่มเข้าไปครั้งละ 1 แก้วเต็มๆ กินเป็นประจำ 2 สัปดาห์ต่อครั้ง หรืออย่างน้อยเดือนละครั้ง น้ำของรางจืดจะเข้าไปขับและทำลายสารพิษในร่างกายในหลอดลมและในลำไส้ให้สลายเป็นกลางไปโดยหมดสิ้น นอกจากนี้ในผู้ที่มีอาการเมาสุรา น้ำรางจืดนี้ก็สามารถรักษาอาการเมาสุราให้หายเป็นปลิดทิ้งได้เช่นกัน


              
  ผู้ที่ได้รับสารพิษร้ายแรงทุกชนิดเข้าไป เมื่อรู้ว่าร่างกายได้รับอันตราย เจ็บป่วย มีอาการต่างๆหรือแทบจะเอาชีวิตไม่รอด และแม้แพทย์แผนปัจจุบันก็แทบหมดความสามารถในการรักษาเยียวยาได้แล้ว ให้ญาติของผู้ป่วยรีบหาต้นหรือเถารางจืด (หากอาการอยู่ในระยะแรกๆ พึงทำให้ผู้ป่วยอาเจียนเสียก่อน จึงทำยานี้ให้กิน) มาครั้งละ ประมาณ 1 กิโลกรัม ใส่น้ำ 3 ส่วน ต้มเคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน จึงให้ผู้ป่วยกินให้หมดในครั้งเดียว
  หรือจะเอาเถารางจืดทั้ง 5 มา 1 กิโลกรัม  ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำซาวข้าวคั้นกรองเอาแต่น้ำกินให้หมดในวันเดียว วันละ 1 ครั้ง จึงทำใหม่ให้กินติดต่อกัน 2-3 วัน อาการเจ็บป่วยอย่างหนักจากสารพิษต่างๆจะค่อยๆหายเป็นปกติอย่าน่าอัศจรรย์





                                                              อัญชัน

อัญชัน เป็นไม้เลื้อย ลำต้นมีสีเขียวมีขน ใบสีเขียวเป็นไม้ไม่ผลัดใบ ดอกสีน้ำเงินแก่ตรงกลางมีสีเหลืองบางชนิดมีสีขาว หรือสีม่วงอ่อน ผลแบบฝักถั่ว ขึ้นได้ดีในดินทั่วไป ชอบความชื้นปานกลาง ขึ้นงอกงามดีในดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูง ชอบแสงทั้งวันอัตราการเจริญเติบดีมาก นิยมปลูกตามรั้ว เป็นซุ้ม เป็นพันธุ์ไม้ในเขตร้อน ขึ้นได้ทั่วไป
ดอกอัญชัน  มีสารแอนโไซยานิน ซึ่งมีคุณสมบัติเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในหลอดเล็กๆ ทำให้เลือดไปเลี้ยงรากผมและนัยน์ตามากขึ้น สารแอนโทรไซยานินนี้จะพบในผลไม้และดอกไม้ที่มีสีน้ำเงิน สีแดง หรือสีม่วง มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ โดยที่พืชจะสร้างสารนี้ขึ้นมา เพื่อป้องกันดอกหรือผลตัวเอง จากอันตรายของแสงแดดหรือโรคภัยดอกสกัดสีมาทำสีประกอบอาหารได้ ดอกมีคุณค่าทางสมุนไพรช่วยปลูกผม ราก บำรุงตาลดอาการของโรคทางสายตา แก้ตาฟาง ตาแฉะ  ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ รากใช้ถูฟันแก้ปวดฟัน
ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับคุณค่าทางอาหาร    สารอาหารให้สารสีฟ้า ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันความเสื่อมของร่างกาย บำรุงผมให้สีเข้มเสมอ บำรุงสายตาป้องกันอันตรายจากแสงจ้า ลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคร้าย
คุณค่าทางยา         ดอกมีคุณค่าทางสมุนไพรช่วยปลูกผม ราก บำรุงสายตา ลดอาการของโรคทางสายตา เช่น ตาฟาง ตาแฉะ ตาอักเสบ ตาเสื่อมจากเบาหวานปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ


        


ใบเตย

                                    

วันนี้ผมขอแนะนำสมุนไพร ใบเตย ใบเตย หรืออีกหนึ่ง สมุนไพรใบเตย ที่คนไทยรู้จักกันดีเพราะนอกจาก
เราจะใช้ ใบเตย ในการประกอบอาหารหลาย ๆ อย่าง อีกทั้ง ยังให้กลิ่งหอมและทีสำคัญที่สุด สรรพคุณ
ของใบเตย ยังมีอีกมายมายนักคุณอาจจะคิดไม่ถึง นั้นเรามามาดูสรรพคุณและ ประโยชน์ของใบเตย กัน
เลยดีกว่าค่ะ ผลงานการวิจัย การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่า เตยหอมมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ลดอัตราการเต้นของหัวใจ ขับปัสสาวะ ซึ่งฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่กล่าวไปทั้งหมดนั้น ซึ่งมาจากการทดลองในห้องทดลอง นอกจากนี้ได้มีการทำศึกษาวิจัย โดยนำน้ำต้มรากเตยหอมไปทดลอในสัตว์ทด ลองเพื่อดูฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดปรากฏว่าสามารถลดน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้ จึงนับได้ว่าสมุนไพรเตยหอมเป็นสมุนไพรที่มีคุณค่าอีกชนิดหนึ่งสามารถนำมาทำเป็นเครื่องดื่มรับประทานเองได้ วิธีใช้ตามภูมิปัญญาไทย ใช้ใบเตยสดเป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่นช่วยลดอาการกระหายน้ำ รากใช้เป็นยาขับปัสสาวะใช้รักษาเบาหวานประโยชน์ทางยาเตยหอมมีรสเย็นหอมหวาน บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื้น โดยมากนิยมใช้น้ำใบเตยผสมอาหารคนไข้ทำให้เกิดกำลัง ลำต้นและรากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้น้ำเบาพิการ และรักษาโรคเบาหวาน ใบช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่นลดกระหายน้ำและอาจใช้ใบตำพอกรักษาโรคหัด โรคผิวหนัง วิธีใช้ 1.ใช้ใบสดตำคั้นเอาน้ำจะได้น้ำสีเขียวใช้นำมาผสมอาหารจะช่วยให้อาหารมีสีสวยน่ารับประทานและมีกลิ่นหอมของใบเตย 2.ใช้ในในรูปของใบชาชงกับน้ำร้อนหรือใช้ใบสดต้มกับน้ำจนเดือดเติมน้ำตาลเล็กน้อยก็ได้ดื่มเป็นประจำช่วยบำรุงหัวใจ 3.นำส่วนต้นและรากต้มกับ เนื้อหรือใบไม้สักจะช่วยรักษาโคเบาหว